รอตไวเลอร์ (Rottweiler) เจ้ายักษ์ใหญ่จอมพลัง

รอตไวเลอร์ (Rottweiler) เจ้ายักษ์ใหญ่จอมพลัง

รอตไวเลอร์นอกจากจะเป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่และทรงพลัง เป็นสุนัขจากกองทัพโรมันและถูกพัฒนาสายพันธุ์ในประเทศเยอรมันนี ยังมีชื่อเสียงเรื่องความอึด แม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นสุนัขที่มีความดุร้าย แต่ถ้าได้รับการเพาะพันธุ์และฝึกอย่างเหมาะสมจะสามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง รวมถึงการเป้นสัตว์เลี้ยงประจำครอบครัว

รอตไวเลอร์ (Rottweiler) เจ้ายักษ์ใหญ่จอมพลัง

ลักษณะภายนอก

เจ้ารอตไวเลอร์มีลักษณะที่ดูดีและมั่นใจ ร่างกายที่กำยำและความกระตือรือร้นที่เหมาะกับการเป็นสุนัขเฝ้ายาม สุนัขต้อนฝูงสัตว์ และงานหลากหลายที่ต้องอาศัยความคล่องตัว ความอึด และพละกำลัง สีของเจ้ารอตไวเลอร์จะต้องเป็นสีดำเสมอ และมีรอยสีสนิมถึงสีไม้มะฮอกกะนีบริเวณเหนือตา บริเวณแก้ม รอบปาก และขาทั้งสี่ข้าง ขนมีลักษณะแน่น ตรง และหยาบ

อุปนิสัยและอารมณ์

มักจะได้รับเลือกในงานอารักขา มีนิสัยหัวแข็ง มั่นใจ และสง่างาม บางครั้งก็มีชื่อเสียงที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามอาจมีนิสัยขี้อาย โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า ความสามารถในการรับรู้ถึงอันตรายดีมาก และหากรับรู้ว่าครอบครัวกำลังตกอยู่ในอันตรายอาจแสดงการปกป้องและจู่โจมสิ่งที่เป็นอันตราย

การดูแล

การวิ่งช้า ๆ เดินเป็นเวลานาน หรือเล่นเกมที่ได้ออกแรงในบริเวณจำกัดเป็นการออกกำลังกายที่ดีทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ที่สุนัขควรได้ทำเป็นประจำทุกวัน แนะนำให้สุนัขได้รับการเรียนรู้เข้าสังคมและการฝึกคำสั่งเพื่อควบคุมความก้าวร้าวและความดื้อรั้นของสุนัข สนัขพันธุ์นี้ชื่นชอบอากาศหนาวและไม่เหมาะกับอากาศร้อน ควรอยู่ในที่ที่สภาพอากาศเย็นสบายและมีที่กำบัง การดูแลขนไม่ยุ่งยาก เพียงแค่แปรงบ้างเป็นบางครั้งเพื่อกำจัดเส้นขนตายที่หลุดร่วงออกมา

สุขภาพ

อายุขัยอยู่ระหว่าง 8-11 ปี และมีปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคข้อสะโพกเสื่อม มะเร็งกระดูก ข้อศอกพัฒนาผิดปกติ หลอดเลือดแดงตีบ (sub-aortic stenosis; SAS) และกระเพาะบิด นอกจากนี้โรคอื่น ๆ ที่พบได้บ้าง ได้แก่ ภูมิแพ้ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ จอประสาทตาเสื่อม หนังตาม้วน ต้อกระจก ชัก โรคความผิดปติในการแข็งตัวของเลือด (von Willebrand’s disease; vWD) และกระดูกอักเสบ ควรพาสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ

ประวัติสายพันธุ์

ต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์รอตไวเลอร์ไม่ทราบแน่ชัด ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตั้งทฤษฎีว่าสายพันธุ์นี้สืบทอดมาจากสุนัขต้อนฝูงสัตว์พื้นเมืองของกรุงโรมในสมัยโบราณ ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Mastiff ซึ่งพึ่งพาได้ ฉลาด และกล้าหาญ สุนัขต้อนฝูงสัตว์นี้เริ่มจากมีหน้าที่ต้อนฝูงสัตว์และต่อมาได้ถูกใช้ในกองทัพแห่งจักรวรรดิโรมัน ด้วยความสามารถในการต้อนฝูงสัตว์เพื่อเป็นอาหารให้แก่กองทัพและพร้อมที่จะเดินรวมทางไปกับกองทัพ

การรบของกองทัพโรมันได้แผ่ขยายออกไปกว้างไกล แต่ในช่วงประมาณปี 74 ก่อนคริสตกาลได้มีการนำสุนัขที่เป็นต้นกำเนิดของรอตไวเลอร์ข้ามจากเทือกเขาเอลป์เข้ามาสู่บริเวณที่เป็นประเทศเยอรมันนีในปัจจุบัน เป็นเวลาหลายร้อยปีที่สุนัขเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในการต้อนฝูงสัตว์ทำให้เมือง das Rote Wil (แปลว่า ทะเลสีแดง) ที่เป็นต้นกำเนิดของเมือง Rottweil ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในประเทศเยอมันนีกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าขายปศุสัตว์

เรื่องราวนี้สืบต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ จนกระทั่งช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ในช่วงที่การต้อนฝูงสัตว์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมีการใช้ลาในการลากรถแทนสุนัข ทำให้ความต้องการเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ลดน้อยลง กว่าชื่อเสียงของสุนัขพันธุ์นี้จะได้เป็นที่รู้จัก จำนวนก็สุนัขก็ลดน้อยลงจนเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ในปี 1901 ได้มีความพยายามในการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขรอตไวเลอร์และมีการจัดตั้งชมรมสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ชมรมนี้ถูกตั้งขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็ได้สร้างมาตรฐานสายพันธุ์ของสุนัขรอตไวเลอร์ขึ้นมา หลังจากนั้นมีการจัดตั้งชมรมขึ้นอีกสองชมรมและในปี 1907 หนึ่งในชมรมนั้นได้โฆษณาว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถใช้เป็นสุนัขตำรวจได้ ในปี 1921 ทั้งสองชมรมได้รวมตัวกันและจัดตั้ง Allegmeiner Deutscher Rottweiler Klub ขึ้นมา ในช่วงเวลานั้นสุนัขพันธุ์รอตไวเลอร์กว่า 4,000 ตัวได้รับการจดทะเบียนในหลายชมรมทั่วประเทศเยอรมันนี ความนิยมในสุนัขพันธุ์รอตไวเลอร์ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นและในปี 1931 ก็ได้รับการเปิดตัวในประเทศสหรัฐอเมริการเป็นครั้งแรกและได้รับการขึ้นทะเบียนโดย American Kennel Club ในเวลาต่อมา ความฉลาดเฉลียวและความสามารถในการอารักขาเป็นที่ชื่นชอบของคนรักสุนัขมาตลอด และด้วยการเพาะพันธุ์ที่มีเป้าหมายชัดเจนทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่เพียงแต่ในฐานะสุนัขตำรวจ สุนัขอารักขา และสุนัขใช้งานในกองทัพ แต่ยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีประจำครอบครัวอีกด้วย

 

ข้อมูล: honestdocs
ภาพ: dogbreedslist,PetGuide,dogster
แชร์บทความนี้...

Vetbasket

คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้ด้วย...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *